ความเป็นมา กต.ตร.

  • เมื่อ พ.ศ. 2541 รัฐบาลมีนโยบายที่จะปรับปรุงกิจการตำรวจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีระบบการบริหารจัดการที่คล่องตัวเป็นอิสระภายในกรอบของกฎหมาย มีการกระจายอำนาจและเปิดโอกาสให้สังคมมี ส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ตรวจสอบติดตามและให้ข้อเสนอแนะแก่ตำรวจอย่างเป็นระบบ จึงได้จัดทำร่าง พระราชกฤษฎีกา โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นส่วนราชการมี ฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงและมีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความมั่นคง ภายในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและ ปราบปรามอาชญากรรมการตระเวนชายแดน การรักษาความปลอดภัยและ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และอำนาจหน้าที่อื่น ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และให้อยู่ในบังคับบัญชา ของ นายกรัฐมนตรี
  • ต่อมาวันที่ 14 ตุลาคม 2541 สำนักเลขานุการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0204/ว(ก) 13744 ถึงกระทรวงมหาดไทย แจ้งว่าบัดนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรง ลงประปรมาภิไธย ในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดให้นำประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 73 วันที่ 16 ตุลาคม 2541 ต่อไป
  • สืบเนื่องจากการมีพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2541 ดังกล่าว โดยเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระดับและการ กระจายอำนาจทางการบริหารไปให้หน่วยงานระดับภูมิภาคอย่างเต็มที่ นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี จึงได้วางระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2542 ขึ้น กำหนดให้มี คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจแห่งชาติ (กต.ตร.) เป็นองค์การ นโยบายตำรวจแห่งชาติ และให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจกรุงเทพมหานคร (กต.ตร.กทม.) และคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจระดับจังหวัด (กต.ตร.จังหวัด)
  • ตลอดจนกำหนด ให้มีคณะกรรมการระดับสถานีตำรวจ ( กต.ตร.สถานีตำรวจ ) เป็นองค์กรที่นำนโยบายพัฒนาและการบริหารงาน ตำรวจไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลตามนโยบายระดับชาติที่กำหนด รวมทั้งนำความคิดเห็น และปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชนในพื้นที่กลับขึ้นสู่กระบวนการกำหนดนโยบายระดับชาติให้สอดคล้อง กับความต้องการของประชาชน อย่างแท้จริงโดยมีประชาชนเข้ามาเป็นกรรมการในคณะกรรมการทุกระดับ